วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ผาเเต้ม

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยูทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จุดที่น่าสนใจคือภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ผาหมอน ผาลาย ประติมากรรมธรรมชาติเสาเฉลียง และจุดชมพระอาทิตย์แสงแรกแห่งสยาม อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีพื้นที่ราว 340 ตารางกิโลเมตร (212,500 ไร่)


ผาแต้ม
คำว่า "แต้ม" ในภาษาถิ่นดั้งเดิมหมายถึง รอยวาด ระบาย ประทับ หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ โดยใช้สี ให้ปรากฏเป็นรูปภาพ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ โดยที่ผาแต้มนี้ เป็นแหล่งที่พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปีแบ่งออกได้ 4 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ยาวที่สุดยาว 180 เมตร และมีภาพมากกว่า 300 ภาพ
เสาเฉลียง
เสาเฉลียงเป็นประติมากรรมหินทรายชิ้นเอกจากธรรมชาติ โดยประกอบจากหินทรายสองชุดคือหินทรายยุคครีเตเชียส ชั้นบน (ซึ่งแข็งกว่า) และหินทรายยุคจูแรสซิก ชั้นล่าง (ซึ่งอ่อนกว่า) ถูกกระทำโดยน้ำและลมเป็นเวลายาวนานกว่าร้อยล้านปี จนเกิด "กระบวนการต้านทานทางธรรมชาติ" ซึ่งเป็นแรงกดทับ และแรงธรรมชาติอื่น ๆ ทำให้เม็ดทรายในเนื้อหินเชื่อมประสานกันแน่นขึ้น ส่งผลให้สามารถรักษารูปร่างได้ถึงปัจจุบันนี้ ส่วนชื่อ เสาเฉลียง แผลงมาจากคำว่า "สะเลียง" ซึ่งแปลว่าเสาหิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น